อากาศร้อน ทะเลกระบี่ อุณหภูมิพุ่ง 28-30 องศาฯ ยังไม่พบปะการังฟอกขาว

อากาศร้อน ทะเลกระบี่ อุณหภูมิพุ่ง 28-30 องศาฯ ยังไม่พบปะการังฟอกขาว

วันที่ 30 เม.ย. 62 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัด ตรัง

ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ อาสาสมัครนักดำน้ำ เคลื่อนย้าย ต้นกล้าปะการัง ที่ปลูกไว้ด้วยวิธี Coral Propagation รวม จำนวน 23,000 ชิ้น บริเวณ อ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี

โดยพบว่ามีการแตกหน่อ มีการเจริญเติบโตดี หลังจากมีการประกาศปิดอ่าวมาหยา มาเป็นระยะเวลา 10 เดือน 

เพื่อฟื้นฟู ธรรมชาติทั้งบนฝั่งและใต้ทะเล ที่เสื่อมโทรมจาการท่องเที่ยว พร้อม ติดตาม การเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเล ที่ความลึก 1-4 เมตร เฉลี่ยอยู่ที่ 28-30 องศาเซลเซียส เพื่อติดตามภาวะปะการังฟอกขาว ของ ปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด พบว่าบางโคโลนีของปะการังโขด เริ่มมีสีซีดจาง แต่ยังไม่พบการตายของปะการังจากการฟอกขาว บริเวณอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี

อุยานแห่งขาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่

โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัด ตรัง เตรียมลงพื้นที่ สำรวจภาวะปะการังฟอกขาว ในพื้นที่ อุทยาแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้

หลังจากเพจ “ที่นี่ นครนายก” ได้แชร์เรื่องราวของพนักงานขับรถฉุกเฉิน ที่รับคู่อริที่ถูกรถชนบาดเจ็บสาหัส และจงใจขับรถช้า ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างหนัก และล่าสุดผอ.โรงพยาบาลบ้านนา ได้มีคำสั่งให้พนักงานคนดังกล่าวลาออกแล้ว พร้อมเตรียมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้ ในขณะที่พนักงานขับรถฉุกเฉินได้โพสต์ขอโทษสังคม รวมถึงครอบครัวของผู้บาดเจ็บ

โดยเหตุดังกล่าวเริ่มต้นจากการที่พนักงานขับรถฉุกเฉินออกมาโพสต์ ว่าตนไม่ได้จงใจแกล้งแต่ทำตามกฎกระทรวงสาธารณะสุขโดยขับรถไม่เกิน 80 กม./ชม. พร้อมกล่าวถึงเรื่องที่เคยบาดหมางในอดีตและบอกว่า “ไม่ได้จดจำแต่ไม่เคยลืม” พร้อมระบุว่าตนไม่ผิดที่จะขับ 50 – 60 กม./ชม. และ “ขอให้ตายอย่างสงบ”

ฝ่ายลูกสาวของผู้บาดเจ็บเล่าว่าวันที่เกิดเหตุพนักงานขับรถฉุกเฉินโรงพยาบาลบ้านนาได้มารับพ่อของตน แต่โรงพยาบาลส่งพ่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลนครนายก และขณะนี้พ่อยังมีอาการโคม่า ไม่รู้สึกตัว รอการผ่าตัด ซึ่งตนเองกับครอบครัวรับไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้ทำเรื่องไปยังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ดำเนินการกับพนักงานคนดังกล่าวให้ลาออก เพื่อไม่ให้ทำแบบนี้กับใครอีก อย่างไรก็ตามพนักงานคนดังกล่าวได้ลาออกพร้อมกับเข้ามาขอโทษพ่อและญาติแล้ว

อนุญาโตสั่งการทางพิเศษ จ่ายค่าโง่ทางด่วน 1.9 พันล้าน

 ค่าโง่ทางด่วน – วันที่ 30 เม.ย. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้รายงานต่อ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่อง “คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับคดีปรับอัตราค่าผ่านทางทางพิเศษ (ทางด่วน) ศรีรัชส่วน D ช่วงถนนรัชดาภิเษก-ศรีนครินทร์ ปี 2546” ว่า ตามที่ BEM ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551

เพื่อเรียกร้องให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ชำระเงินส่วนต่างรายได้ค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 กับอัตราค่าผ่านทางที่ถูกต้องตามสัญญานั้น

เมื่อวานนี้ (29 เม.ย.) BEM ได้รับทราบคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการลงวันที่ 22 เมษายน 2562 โดยคณะอนุญาโตตุลาการได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ชี้ขาดให้กทพ.ค่าเสียหายแก่ BEM สรุปดังนี้

1. ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 1,048.23 ล้านบาท และดอกเบี้ยผิดนัดตามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ข้อ 25.6 ของต้นเงินค่าเสียหายจำนวน 914.35 ล้านบาท คิดเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป จนกว่าการทางพิเศษฯ จะชำระเสร็จสิ้น

2. ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง ตามอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคมฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 กับส่วนแบ่งที่ BEM มีสิทธิจะได้รับตามสัญญา โดยคำนวณตามจำนวนรถยนต์แต่ละประเภทที่ใช้ทางตามจริง เป็นรายวัน นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2551

รวมทั้งชำระดอกเบี้ยผิดนัดตามสัญญาข้อ 25.6 ของผลต่างส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่บริษัทจนเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ ตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บริษัทสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลทำการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ ในขณะที่ กทพ. อาจขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด

จำเลยที่ 4 ถูกลงโทษข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่มีใบอนุญาต จำคุก 3 เดือน ข้อหาร่วมกันมีซากสัตว์ป่าคุ้มครอง(เสือดำ) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ข้อหาร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน ข้อหาพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำคุก 4 เดือน ข้อหาล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำคุก 1 ปี ข้อหาเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี 17 เดือน ไม่มีข้อหาใดยกฟ้อง